แชร์

นักกีฬาระดับโลก ปวดหลังระหว่างแข่งขัน (วูดส์, นาดาล, เนยมาร์)

อัพเดทล่าสุด: 25 ก.พ. 2025

สำหรับ คนธรรมดาทั่วไป มีโอกาส เจ็บปวด ปวดหลัง ไขข้อ ต่างๆ จาก อายุที่มากขึ้น การเคลื่อนไหวร่างกาย การนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม น้ำหนักเกิน และการเชื่อมโยงจากการป่วย การอักเสบอื่นๆ

แต่สำหรับ นักกีฬาที่ มีร่างกายที่แข็งแรงกว่าคนทั่วไปทั้งกล้ามเนื้อ ข้อ และกระดูก แล้วโอกาสที่จะ เจ็บปวดจากการเล่นกีฬา ก็มาจากการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากกว่าคนทั่วไป การสร้างแรงกระแทก (impact) ในการเตะหรือตีบอล และการปะทะกับฝ่ายตรงข้ามในกีฬาที่มีฝ่ายตรงข้าม

เนื้อหา จะพาย้อนกลับไปชมเหตุการณ์ที่นักกีฬาเหล่านั้นต้องพบกับอาการดังกล่าว และเขาผ่านห้วงเวลานั้นๆได้อย่างไร

อันดับ 1 Tiger Woods (2013 Barclays)

กีฬากอล์ฟ เป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ใช้แรงส่งในการเหวี่ยงหมุนตัว ด้วยแรง เอว หลัง ไหล่ แขน อย่างมาก

Tiger Woods มีอาการดังกล่าว เห็นได้ชัดในปี 2013 ถึงกับทรุด คุกเข่าเลย แต่เขาก็ลุกขึ้นมาแข่งต่อจนจบ

แหล่งข่าว เชื่อว่า เขาได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบผสมหลายครั้ง และค่อยๆคืนวงการ จนแข่งขันชนะกอล์ฟ 2019 Masters เท่ากับเป็นบทพิสูจน์ว่า เขาหายดีแล้ว

 

อันดับ 2 Neymar (2014, World Cup, Brazil vs Colombia)

การแข่งขันในปีนั้น Neymar ที่มักจะเป็นกองบุก ถูกสกัดเจ็บตัวหลายรอบ ที่เจ็บหนักสุดคือ ช็อตที่ถูก ฮวน ซูนิการ์ กระโดดกระแทกเพื่อจะแย่งลูกจากด้านหลัง ทำให้เขาหลังร้าว ร้องด้วยความเจ็บปวดหามออกนอกสนาม และไม่สามารถแข่งในแมตซ์ต่อๆมาได้ พักยาว 3 เดือน

แหล่งข่าว เชื่อว่า Neymar ได้รับการรักษาด้วย ศาสตร์การระงับความเจ็บปวด และมีอุปกรณ์เป็นประคองร่างกายและส่วนกระดูกสันหลังมิให้ขยับเขยื้อนมากนัก ตลอด 3 เดือน โดยไม่มีการผ่าตัด

 

 

อันดับ 3 Rafael Nadal (2014 Australian Open Final, vs Stan Wawrinka)

Nadal ในช่วงเวลานั้น ถือว่าเป็นช่วงเวลาทองที่กวาดรางวัลมาตลอด และก็มีข่าวว่า เขาต้องทนทุกข์กับ การปวดหลังเรื้อรังมาตลอด 

ในการแข่งขันดังกล่าว Nadal แสดงอาการปวดหลังหลายครั้ง จนทำให้การวิ่งของเขาเกิดข้อจำกัด รวมถึงการเสริ์ฟก็ไม่แรงเหมือนปกติ อย่างไรก็ตาม แมตซ์ดังกล่าว Nadal ก็ฝืนทนความเจ็บปวดจนชนะอยู่ดี (เทพมากกกก)

แหล่งข่าว เชื่อว่า Nadal ได้รับการรักษาหลายแบบ โดยระหว่างการแข่งขันได้รับยาระงับปวดและการประกบร้อน-เย็น เพื่อให้สามารถแข่งต่อไปได้จนจบ ในขณะเดียวกัน ก็ได้ ได้รับการรักษาด้านกระดูก การรักษาด้วยความเย็นจัด กายภาพบำบัดเน้นการสร้างกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่น และได้รับการรักษาที่เกี่ยวกับการอักเสบของกล้ามเนื้อและกระดูก

 

 

สำหรับคุณผู้อ่านที่ อาจจะไม่ใช่นักกีฬาอาชีพ หรือ เล่นกีฬาเป็นประจำใดๆแล้วเกิดเหตุเจ็บปวดจากการเล่นกีฬา ทางเซเปี้ยนซ์ก็มีแผนกดูแล โดยที่เราจะทำการตรวจการเจ็บปวดว่าเป็นการเจ็บปวดที่ใด (กล้ามเนื้อ ไขข้อ กระดูก หรืออื่นๆ) เกิดการอักเสบหรือไม่ และคนไข้ มีเป้าหมายในการรักษาแบบใด (เช่น มีกำหนดการต้องลงแข่งขันต่อ ต้องรักษาแบบเร่งด่วนก่อน) 

มีนักกีฬาหลายคนที่ใช้บริการ การรักษาของ พญ. นาตยา อุดมศักดิ์ และทีมแพทย์เซเปี้ยนซ์มาก่อนนี้แล้ว (ก่อนที่ รพ. เซเปี้ยนซ์จะก่อตั้งขึ้น) เช่น คุณแทมมี่ แทมมารีน ธนสุกาญจน์ แชร์ประสบการณ์ว่า ระหว่างแข่งขัน หรือ พักร่างกายเพื่อเตรียมแข่งขันต่อ จะต้องพึ่งศาสตร์การรักษาระงับปวดเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ต่อโดยเร็ว และหากพักจากการแข่งขันระยะยาวก็จะมารักษาระยะยาวเพิ่มเติม ซึ่งทีมแพทย์เข้าใจและตอบโจทย์นักกีฬาได้อย่างดี

 

แหล่งข้อมูล


บทความที่เกี่ยวข้อง
หมอเก่าเล่าเรื่อง หมอ pain doctor
เมื่อการรักษาความเจ็บปวดพัฒนาขึ้น จึงมีหน่วยงาน การบัญญัติหลักการต่างๆขึ้นมา สถาบัน หลักปฎิบัติ คู่มือการดูแล
30 ม.ค. 2025
หมอเก่าเล่าเรื่อง หมอ pain doctor
หมอเก่าเล่าเรื่องตอน 2 เมื่อวิทยาศาสตร์อธิบายความเจ็บปวดได้ การรักษาก็ก้าวหน้าด้วยการคิดค้น สารเคมีต่างๆ แต่มันก็มีความเสี่ยงตามมา
30 ม.ค. 2025
หมอเก่าเล่าเรื่อง หมอ pain doctor
ประวัติศาสตร์ แห่งการรักษาความเจ็บปวด ที่เชื่อเรื่อง ภูติผี ปิศาจ วิญญาน และพระเจ้า ในยุคที่ยังไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความเจ็บปวด
30 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy