แชร์

ศาสตร์ของการรักษา ความเจ็บปวด (3) องค์กรกลาง และ การความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายปลายทาง...

อัพเดทล่าสุด: 31 ม.ค. 2025
องค์กรรักษาอาการเจ็บปวด
  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คลินิคแห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรักษาอาการเจ็บปวดเรื้อรังมีชื่อว่า โรงพยาบาล เบลลัวร์ในรัฐนิวยอร์ก โดยวิสัญญีแพทญ์ชื่อ อี โลเวนสไตน์ ในยุโรป คลินิครักษาความเจ็บปวดแห่งแรกเกิดขึ้นในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยลอนดอน และเปิดมากมายหลายแห่งในเวลาต่อมา หัวใจหลักของการรักษาคือการฉีดยาชาหรือยาทำลายเส้นประสาทรับความรู้สึกรวมถึงการให้ยาฉีด รับประทาน แผ่นแปะผิวหนัง ฯลฯ
  • ค.ศ.  1953 จอห์น เจ โบนิคา ได้เขียนตำราแพทย์ที่ใช้รักษาความเจ็บปวด  เขาได้ก่อตั้งศูนย์บำบัดความเจ็บปวดที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในปีคศ 1978 โดยก่อนหน้านี้ภายใต้การบริหารจัดการของ โบนิคาได้มีส่วนในการการก่อตั้งองค์กรการศึกษาบำบัดความเจ็บปวดนานาชาติและจัดประชุมสัมมนาระดับชาติเป็นครั้งแรกในปี คศ 1973 
  • ต่อมาในปี คศ 1982 ได้มีการทำความเข้าใจกับองค์การอนามัยโลก แล้วได้ออกแนวทางการใช้ยาระงับปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเมื่อ คศ 1986  กระทั่ง คศ 1996 ได้มีการตีพิมพ์แนวทางการให้ยาระงับปวดในผู้ป่วยมะเร็งถึง 22 ภาษา

World Institute of Pain (WIP) หรือ สถาบันรักษาความเจ็บปวดนานาชาติ

จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย หน่วยงาน WIP ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1993 มีสำนักงาน ณ ประเทศฮังการี ตั้งโดยกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระงับความปวด เพื่อสร้างมาตรฐานการรักษาไปในทางที่ถูกต้อง มีจริยธรรม มีข้อควรปฏิบัติร่วมกัน และแบ่งปันความรู้งานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์ด้านนี้ให้ก้าวหน้า หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงต่างๆ โดยมีการประชุมใหญ่เสมอ และออกประกาศนียบัตรให้กับ หมอ Pain ที่สอบผ่านแนวคิด ความรู้ และข้อปฏิบัติเหล่านี้ด้วย

และมีการบัญญัติศาสตร์การแพทย์ดูแลแบบ total pain treatment (รักษาความเจ็บปวดองค์รวม ทั้ง กายและใจ) และ palliative care (การรักษาแบบประคับประคอง เน้นเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และสร้างกำลังใจที่ดีให้กับผู้ป่วยและครอบครัว)

ซึ่ง พญ. นาตยา อุดมศักดิ์ คือ คนไทยคนแรกที่ได้รับประกาศนียบัตรดังกล่าว เมื่อปี 2011

 

การรักษาความเจ็บปวด ถือเป็น สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชน (Pain treatment as a Human Right)

ประเทศไทยเราอาจจะไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้มากนัก แต่ในระดับโลก (ซึ่งได้รับแรงอิทธิพลของปัญหาจากชาติตะวันตกก่อน) ถือว่า การเลือกรักษาความเจ็บปวด และการเข้าถึงยาและวิธีการรักษาความเจ็บปวดนั้น เป็นสิทธิมนุษยชนที่พึงมี

การที่แพทย์ หรือ สถานพยาบาลใดๆ ปล่อยให้คนไข้ทุกข์อยู่กับการเจ็บปวดจากโรคใดๆก็ตาม โดยไม่ยอมให้ยาระงับปวด ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เลยทีเดียว

โดยการประกาศนี้

  • เริ่มต้นเมื่อ ปี 1981 ณ กรุงลิสบอน โปรตุเกส World Medical Association ได้ประกาศรองรับสิทธิมนุษยชนดังกล่าวครั้งแรก (และมีการปรับปรุงข้อความในปี 2005, 2015 ต่อมา) ให้ผู้ป่วยมีสิทธิ์เข้าถึงการรักษาความเจ็บปวดที่เหมาะสม
  • ปี 1986 WHO Cancer Pain Relief Program ประกาศให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ได้รับการรักษาความเจ็บปวดที่เหมาะสม
  • ปี 1987 United Nations Convention Against Torture ประกาศโดยอ้อมว่า การปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่ทรมานกับความเจ็บปวดแบบไม่เหมาะสม ถือเป็นความไร้ซึ่งมนุษยธรรม

สถานบำบัดระยะสุดท้าย 

กล่าวแล้วอาจจะดูเศร้า และนี่ก็เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ การระยะสุดท้ายของชีวิตหลายๆคนที่รับทราบแล้วว่าตนเองป่วยอะไร และจะมีชีวิตเหลือเวลาอีกไม่นาน ก็เริ่มมีแนวทางปฏิบัติเชิงการแพทย์ที่จะดูแลวาระสุดท้าย (hospice care หรือ end-of-life care) ให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยที่สุด ทรมานน้อยที่สุด (เรียกง่ายๆว่า Good Death) หลายๆครั้ง ลูกหลานก็ซาบซึ้งกับการจากไปแบบสงบสุขมากกว่าการปล่อยให้ทรมาน ซึ่งศาสตร์ดังกล่าวก็อยู่ในส่วนของ หมอ Pain เช่นกัน โดยมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ดังนี้

คู่มือดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และแบบระยะสุดท้าย ของ WHO ปี 2014

  • มีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรคอย่างมะเร็ง ศตวรรษที่ 4 เป็นสถานที่ของโบสถ์ ที่จะดูแลนักบวช เด็กกำพร้าที่ป่วยระยะสุดท้าย แต่ถูกยกเลิกไประยะหนึ่ง  กระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มก็ตั้งขึ้นมาใหม่หลายแห่งทั้งที่ยุโรปและอเมริกา
  • โดยมีหลักการ คือ พยายามให้ใช้ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตอยู่ที่บ้านของตนเอง และเน้นความสะดวกสบายทั้งกายใจ (มากกว่าการทุ่มเทรักษาต่อไป)
  • ค.ศ. 1993 ออกซฟอร์ด ได้ตีพิมพ์ตำรา การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต
  • แนวปฎิบัติล่าสุดในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายขององค์การอนามัยโลกได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1998

การดูแลรักษาความเจ็บปวดได้พัฒนาวิธีการรักษาจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่เข้าใจถึงกลไกความรู้สึกเจ็บปวดของมนุษย์ทำให้สามารถรักษาได้ด้วยวิธีต่างๆหลากหลาย การกินยา ฉีดยา เข้าหลอดเลือด ฉีดยาเข้าไขสันหลัง ฉีดยาเช้าเส้นประสาท ใช้คลื่นเสียงไปที่เส้นประสาท หรือ ผ่าตัด กายภาพบำบัด รวมถึงการรักษาด้วยจิตวิทยา

หมอเก่า จะทะยอยนำเรื่องราวดีๆที่เข้าใจง่ายเกี่ยวกับสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บปวดลงให้อ่านกันเพลินๆถือเป็นความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่อาจนำมาประยุกต์ใช้กับร่างกายของเรา 

โปรดติดตาม  ไร้เจ็บ เก็บสุข สนุกกับชีวิตใหม่

โรงพยาบาลเซเปี้ยนซ์โรงพยาบาลทั่วไปที่เชี่ยวชาญรักษาเฉพาะทางด้านความเจ็บปวด

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://painmanagementcollaboratory.org/pain-management-history-timeline/  
https://www.britannica.com/science/pain 
https://omegapaindoctor.com/blog/history-of-pain-management/  

บทความที่เกี่ยวข้อง
ปวดหลัง นักกีฬาระดับโลก
ย้อนกลับไปชมเหตุการณ์ที่ ไทเกอร์ วูดส์ ราฟาเอล นาดาล และเนยมาร์ เกิดเหตุปวดหลังระหว่างแข่งขัน ภาพวันนั้นเป็นอย่างไร เขาผ่านมาได้อย่างไร และเขามีการรักษาอย่างไร
25 ก.พ. 2025
หมอเก่าเล่าเรื่อง หมอ pain doctor
หมอเก่าเล่าเรื่องตอน 2 เมื่อวิทยาศาสตร์อธิบายความเจ็บปวดได้ การรักษาก็ก้าวหน้าด้วยการคิดค้น สารเคมีต่างๆ แต่มันก็มีความเสี่ยงตามมา
30 ม.ค. 2025
หมอเก่าเล่าเรื่อง หมอ pain doctor
ประวัติศาสตร์ แห่งการรักษาความเจ็บปวด ที่เชื่อเรื่อง ภูติผี ปิศาจ วิญญาน และพระเจ้า ในยุคที่ยังไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความเจ็บปวด
30 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy