แชร์

ศาสตร์ของการรักษา ความเจ็บปวด (1) ภูติผี พระเจ้า และดอกฝิ่น

อัพเดทล่าสุด: 31 ม.ค. 2025

สิ่งมีชีวิตระดับสูงมีการพัฒนาระบบประสาทให้รับรู้ถึงความเจ็บปวด เพราะเป็นกลไกหนึ่งที่ใช้ป้องกันตัวจากอันตราย  เช่น หนีจากความร้อน เย็น ของแหลมคม แรงกระทบกระแทก ลองจินตนาการถ้าเราไม่มีระบบประสาทรู้สึกเจ็บปวดจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น

คนที่เคยได้รับการฉีดยาชาเพื่อถอนฟันแล้วกินอาหารขณะยาชายังไม่หมดฤทธิ์ เราจะกัดหรือเคี้ยวริมฝีปากให้เกิดรอยแผลหรือถ้าเอามือจับถาดอาหารร้อนๆโดยไม่รู้สึกอะไรเลยแต่ผลที่ตามมาคือผิวหนังพองไหม้ บวมแดง

แน่นอนว่ามนุษย์ซึ่งมีชื่อทางวิทยศาสตร์ว่า โฮโม เซเปี้ยนซ์ มีระบบประสาทที่พัฒนาในระดับสูงสุดสามารถรับรู้ถึงสัมผัสต่างๆรวมทั้งความเจ็บปวดเป็นอย่างดี 

ความเจ็บปวดของร่างกายนับเป็นสัญญาณเตือนเริ่มแรกว่าร่างกายมีความผิดปกติ  เราต้องรีบหาสาเหตุและรักษาโรคที่มาคุกคามจะได้บรรเทาและหายได้เร็วไม่ลุกลาม   อาการเจ็บปวดที่พบได้บ่อยๆคือโรคกระดูกและกล้ามเนื้อเช่นหมอนรองกระดูก ข้อเข่าเสื่อม กล้ามเนื้อหดเกร็ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือปวดจากระบบภายในสตรี เนื้องอกมดลูก ปวดท้องประจำเดือน ถุงน้ำรังไข่ เป็นต้น

ภัยเงียบคือมะเร็ง ในระยะแรกมักไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่เมื่อรู้ตัวว่าเจ็บปวดจากมะเร็งก็เป็นระยะท้ายๆซึ่งรักษาให้หายขาดได้ยาก


การรักษาความเจ็บปวดยุคโบราณ (1,500 - 1,300 ปีก่อนคริสตศักราช) 


เป็นยุคที่เชื่อว่า การเจ็บปวด และการเจ็บป่วยทั้งหลายคือ การกระทำจากภูติผี วิญญานร้าย หรือไม่ก็เป็นการลงโทษจากพระเจ้า ดังนั้น การรักษาจึงดำเนินการโดยผู้ที่เป็นกึ่งแพทย์กึ่งหมอผี

  • ชาวอียิปต์โบราณ  ย่างกบเพื่อนำน้ำมันมาทำบริเวณที่เจ็บปวด พร้อมกับการบริกรรมคาถาเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะข้างเดียว
  • ชาวอินคาโบราณ ได้ใช้ใบจากต้น โคดา เพื่อรักษาอาการเจ็บปวด โคคา ถือเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ในอเมริการใต้ และในพิธีเฉลิมฉลองรวมทั้งเป็นยารักษาการเจ็บปวด ชาวเปรูใช้ใบโคคามาใช้เป็นยาชาก่อนทำการเจาะหูเพื่อใส่เครื่องประดับ
  • อิยิปต์และเอเชียไมเนอร์ รู้จักการใช้ดอกฝิ่นดิบ โดยที่ชาวสุเมเรียนตั้งชื่อให้มันว่า ดอกไม้แห่งความสนุกสนาน 
  • ชาวอิยิปต์นำฝิ่นดิบมาทำเป็นเม็ดเพื่อรับประเทานและครีมทาภายนอกให้กับชาวปาเลสไตน์ และผิ่นดิบได้นำมาผสมกับนำมันดิบแล้วเผาให้เกิดควันเมื่อหายใจเข้าจะช่วยลดอาการปวดฟัน
  • อินเดียและจีน มีการนำฝิ่นมาใช้แก้ปวดฟัน ปวดกระดูก และปวดข้อ

การรักษาในยุคนี้ ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์กดประสาท หลอนประสาท ผสมพิธีกรรมตามความเชื่อ



การรักษาความเจ็บปวดในยุคคลาสิก อาณาจักรกรีก อาณาจักรโรมัน (600 - 400 ปี ก่อนคริสตศักราช)

  • 566 ปีก่อนคริสตกาล อัลคมาเอียนแห่งโครโตน (Alcmaeon of Croton) ลูกศิษย์ของไพธาโกรัส เชื่อว่า ศูนย์กลางการรับความรู้สึกและการใช้เหตุผล คือ สมอง (ไม่ใช่หัวใจ)
  • 460 ปีก่อนคริสตศักราช ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) บิดาแห่งการแพทย์กรีก เชื่อว่า การเจ็บปวดเกิดจากการขาดสมดุลของของเหลวทั้่งสี่ในร่างกาย (the four humors) ได้แก่ เลือด น้ำลายเสมหะ น้ำดี และน้ำเหลือง และใช้เปลือกของต้นหลิวที่มีสารซาลิไซลิครักษาการเจ็บท้องตลอดจนใช้ลดไข้ และรักษาอาการปวดตา
ภาพประกอบ สมดุลของเหลวร่างกายทั้งสี่ ศตวรรษที่ 16 ที่มา Wiki Creative Commons

  • 384 ปีก่อนคริสตศักราช อริสโตเติล (Aristotle) สอนว่า หัวใจคือศูนย์กลางของความรู้สึก วิญญานและชีวิต สมองทำให้เยือกเย็น หัวใจทำให้อบอุ่น ในยุคนั้น อริสโตเติล คือนักปราชญ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างมาก 
  • 355 ปีก่อนคริสตกาล ฮิโรฟิลอส และอราสิสตราตอส แห่งอเลกซานเดรีย ทำการศึกษากายวิภาคจากการผ่าศพผบเส้นใบประสาทที่มีต้นกำเนิดจากสมองและไขสันหลังและได้ประกาศว่า สมองเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของระบบประสาทและสายใยประสาทแบ่งเป็นการควบคุมการเคลื่อนไหวและรับความรู้สึก แต่ไม่ได้รับยอมรับการใช้ค้นพบนี้ เนื่องจากขัดกับคำสอนเดิมของอริสโตเติลที่มีชื่อเสียง และมีสาวกเยอะกว่า (สมัยนี้ ก็เรียกว่า แฟนคลับเยอะ ก็พาทัวร์ลงฝ่ายตรงข้ามได้)

ในยุคนี้ มีการใช้ฝิ่นในการรักษาเช่นกัน และมีการเจาะเลือดออก (เพื่อสร้างสมดุลของเหลวในร่างกาย) 
ดังนั้น ยุคแห่งความรุ่งเรืองของ กรีก และโรมัน โบราณ จึงเป็นการถกเถียงถึงแหล่งรับรู้ประสาทสัมผัสว่ามันคือ สมอง หรือ หัวใจกันแน่?

การรักษาความเจ็บปวดในยุครอยต่อคริสตกาล (300 ปี ก่อนคริสตศักราช - ค.ศ. 50)


  • เชื่อกันว่าการฝังเข็มเริ่มทำกันในประเทศจีนมาช้านานก่อนคริสตศักราช แต่พบหลักฐานการใช้เทคนิคฝังเข็ม รักษาอาการป่วย และอาการเจ็บปวดในประเทศจีนอย่างชัดเจนในยุคนี้ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เริ่มศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งเส้นประสาทในร่างกาย
  • การช็อตไฟฟ้าเป็นการลดอาการเจ็บปวดข้ออักเสบรูมาตอยด์ ในสมัยอิยิปต์ กรีก โรมัน เอาส่วนที่ปวดอักเลบแช่ในน้ำที่มีปลาแม่น้ำไนล์ที่สร้างกระแสไฟฟ้าได้ ปลาดุกไฟฟ้า และปลาตอปิโด กลายเป็นสิ่งที่นำเอาไฟฟ้าของมันมารักษาหลายอาการตั้งแต่การรักษาความเจ็บปวด ไปจนถึง โรคลมชัก ความผิดปกติจากจิต ปวดท้องกระเพาะอาหาร และสมรรถภาพทางเพศถดถอย
นี่เป็น ยุคของการรับรู้แล้วว่า ประสาทการรับรู้ผ่านเส้นประสาทมายังสมองส่วนกลาง การรักษาใดๆที่ กระทำผ่านเส้นประสาท หรือ กระทบกับสัญญานไฟฟ้าของเส้นประสาทได้ ก็จะระงับความเจ็บปวดได้

การรักษาความเจ็บปวดในยุคกลาง และ ยุคเรอเนสซอง ค.ศ. 50 - 1800

  • ค.ศ. 160  ทฤษฎีของฮิโรฟิลอสและอราสิสตราตอสถูกนำมากล่าวถึงอีกครั้งโดย กัลเลน แพทย์จากกรุงโรม เชื่อว่าสมองเป็นศูนย์กลางของระบบประสาทรับความรู้สึกและสมองเชื่อมต่อกับระบบประสาทส่วนปลาย   การรับรู้ความเจ็บปวดเกิดได้จากการสัมผัสและการกระตุ้นอย่างรุนแรงจากสิ่งเร้าภายนอกและยังมีความเชื่อว่าความเจ็บปวดสามารถเกิดจากภายในของร่างกายได้เช่นกันซึ่งการเจ็บปวดจากภายในร่างกายนี้เป็นสัญญาณเตือนสำคัญว่าความผิดปกติของร่างกายได้เริ่มขึ้นแล้ว
  • กัลเลนแนะนำให้ใช้ขี้ผึ้งครอบจักรวาลที่ปรุงจากเนื้องูพิษ ฝิ่น ซินนามอน หญ้าฝรั่น โกฐน้ำเต้า พริกไทย ขิง ไวน์ น้ำผึ้งเพื่อรักษาอาการเจ็บปวดและเป็นที่นิยมใช้กันมากในศตวรรษที่ 18 แม้ข้อดีของฝิ่นช่วยลดอาการเจ็บปวดแต่ฝิ่นก็มีฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์เช่นกัน 
  • ค.ศ. 1550 จาโคบัส ธีโอดอรัสกล่าวถึงผลจากการใช้ฝิ่นขนาดมากเกินไปว่าทำให้แขน ขาชา อ่อนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตขณะหลับ ควรนำมาใช้ในกรณีที่มีอาการเจ็บปวดรุนแรงหรือนอนไม่หลับจริงๆ
  • ค.ศ. 1596 - 1650 นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส  เรเน่ เดสคาเต้ (René Descartes) ให้ความเห็นว่าความรู้สึกสัมผัสเริ่มต้นจากปลายประสาทตามผิวหนังแล้วถูกนำส่งมาที่สมองแล้วกระตุ้นให้จิตวิญญาณรับรู้ถึงภาพที่สัมผัส เขาเปรียบเทียบการส่งสัญญาณของเส้นประสาทกับสายเชือกที่ผูกกับกระดิ่ง  การกระตุกที่ปลายเชือกเสมือนหนึ่งเป็นการส่งสัญญาณไปที่ปลายทางคือกระดิ่ง ภาพประกอบทฤษฎีของ เดสคาเต้แสดงให้เห็นถึงความร้อนจากกองไฟที่มือและเท้าของเด็กถูกส่งไปตามเส้นประสาทเปรียบได้กับเส้นเชือกสู่สมองซึ่งเปรียบเทีบเป็นกระดิ่งนั่นเอง
    คนที่ถูกตัดแขนหรือขาในช่วงแรกมักรู้สึกว่าตนเองมีอาการเจ็บปวดแขนหรือขาข้างที่ถูกตัดไปแล้วอาจอธิบายจากสายใยประสาทเส้นที่เคยรับความรู้สึกบริเวณแขน ขาที่ถูกตัดไปแล้วแต่สมองยังคงจินตนาการนึกว่าตนเองยังมีแขน ขาอยู่จึงรู้สึกเหมือนว่าเจ็บปวดได้

  • ค.ศ. 1670s ศาสตร์การฝังเข็มจากจีนแพร่หลายไปถึงญี่ปุ่นจนกระทั่งนักเดินเรือชาวฮอลันดาชื่อ วิลเฮล์ม เทน รีจน์ (Willem ten Rhijne) ได้ล่องเรือมาค้าขายกับชาวญี่ปุ่นที่อ่าวนางาซากิและเรียนรู้ถึงศาสตร์ของการฝังเข็มของชาวตะวันออกและประยุกต์รวมกับศาสตร์การเดินเรือโดยคำนึงถึงการทำงานของหัวใจ การไหลเวียนของเลือดและของเหลวในร่างกายสามารถลดความเจ็บปวดได้ โดยใช้เข็มยาว คม กลม ทำจากทองหรือเงินบริสุทธิ์เท่านั้น การฝังเข็มนี้ใช้รักษาอาการปวดบิดของลำไส้ ข้อต่ออักเสบ ต้อกระจก โรคซึมเศร้า
  • ค.ศ. 1784 เจมส์ มอร์ ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษพบว่าฝิ่นใช้ระงับปวดช่วงหลังผ่าตัดได้ผลดีมาก แต่ไม่ได้ผลดีนักถ้าใช้ขณะผ่าตัด
  • ช่วงปลายศตวรรษที่ 17 เซอร์โจเซฟ เพรสลีย์ได้สกัดก๊าซไนตรัส ออกไซด์ที่ใช้ดมแล้วช่วยลดอาการเจ็บปวดและเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวีย์ให้คนไข้สูดก๊าซไนตรัส ออกไซด์ลึกๆ 3 ครั้งเพื่อช่วยลดการเจ็บปวดหลังการถอนฟันและแนะนำให้ใช้ระงับปวดในการผ่าตัดแผลขนาดเล็กแต่คนส่วนใหญ่มักนิยมดมก๊าซไนตรัส ออกไซด์เพื่อการสันทนาการมากกว่า

ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงของการการผสมผสานเรื่องราววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เกี่ยวกับสมองและระบบประสาท การใช้สารสกัดรักษา ในขณะเดียวกัน ก็มีการเผยแผ่ศาสนา ยุคนี้จึงเต็มไปด้วยความเชื่อเกี่ยวกับการลงโทษจากพระเจ้า และการอวยพร (ยารักษา) จากพระเจ้าในขณะเดียวกัน

การรักษาความเจ็บปวดใน ปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา ค.ศ. 1800 - 1900
  • ต้นศตวรรษที่ 19 มีการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์จนเข้าใจถึงกลไกของความรู้สึกเจ็บปวดอย่างแท้จริง
  • คศ 1824 มารี ฌอง ปิแอร์ โฟรรองค์ สรุปได้ว่า ความนึกคิด ความจำ ความปราถนา การรับความรู้สึกอยู่ที่เนื้อสมองส่วนสีเทา  
  • โยฮัน ปีเตอร์ มุลเลอร์ได้ตั้งทฤษฎี กฎของพลังงานในการรับความรู้สึก ที่ว่า การรับความรู้สึกไม่ได้ขึ้นกับสิ่งที่มากระตุ้น แต่ขึ้นกับอวัยวะที่รับความรู้สึกและเส้นทางการนำความรู้สึกจากสิ่งกระตุ้นนั้น
  • ค.ศ.  1858 มอริทซ์ ชีฟชาวเยอรมันให้ความเห็นว่าความเจ็บปวดต่างจากความรู้สึกจากการสัมผัสเพราะเส้นประสาทรับความเจ็บปวดต่างจากเส้นประสาทรับการสัมผัสแต่มีความเห็นแย้งจาก โกลด์ชไนเดอร์ วอน เฟรย์ ที่ว่าการนำความรู้สึกเป็นเส้นประสาทเดียวกันแต่ถ้ามีการกระตุ้นที่รุนแรงมากพอก็จะเปลี่ยนความรู้สึกถึงการสัมผัสเป็นความเจ็บปวด
  • ค.ศ. 1890 เซอร์ เฮนรี เฮด ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ของเส้นประสาทที่โยงใยไปตามส่วนต่างๆของร่างกายเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทที่ไขสันหลัง แต่ละบริเวณผิวหนังจะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกแผ่กระจายครอบคลุมทั้งหมดแล้วโยงไยไปสู่เซลล์ประสาทในไขสันหลัง ซึ่งเซลล์ประสาทที่รับความรู้สึกจากอวัยวะภายในในตำแหน่งที่อยู่ใกล้เคียงกับที่รับจากผิวหนังเมื่ออวัยวะนั้นมีความผิดปกติอาจส่งกระแสความเจ็บปวดนั้นสู่สมองให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดที่ผิวหนังได้เช่นกัน ยกตัวอย่างคนที่ปวดจากมีนิ่วที่ท่อไตจะมีการปวดร้าวไปถึงบริเวณหน้าต้นขาได้
แผนภาพร่างกายโดย เซอร์ เฮนรี เฮด

จากความเชื่อทางเทพนิยาย  หมอผี พิธีกรรม ว่าอาการเจ็บปวดเกิดจากการถูกลงโทษจากบาปที่ก่อขึ้นหรือเป็นประสงค์ของพระเจ้าในยุคกลาง เมื่อถึงศตวรรษที่ 19 ก่อเกิดทฤษฎีของความเจ็บปวดด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และมุ่งการรักษาไปที่สาเหตุ

ทฤษฎีของความเจ็บปวดในยุคใหม่

  • อัลเฟรด โกลด์ชไนเดอร์ (Alfred Goldscheider, ค.ศ. 18581935) แสดงแยกจุดรับความร้อน เย็น เจ็บปวดและการกดทับที่ผิวหนังได้ชัดเจนเขาสรุปว่าความรุนแรงของการกระตุ้นและการแปลผลของสมองเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ความเจ็บปวด อย่างไรก็ดียังเป็นที่ถกเถียงกันในทฤษฎีต่างๆกันอย่างกว้างขวางและกินเวลานานหลายทศวรรษ
  • ปี ค.ศ. 1965 โรนัลด์ เมลแซคและแพทริค วอลล์ก็หาข้อสรุปได้ว่าเนื้อของไขสันหลังส่วนที่มีสีเทาชื่อ ซับสแตนเชียล เจลาติโนซาเป็นจุดเชื่อมต่อกระแสประสาทที่ส่งมาจากการกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกของอวัยวะต่างๆในร่างกายแล้วนำส่งไปยังสมองซึ่งควบคุมระบบประสาทส่วนกลางและแปลผลความรู้สึกว่าร้อน เย็น แหลม เรียบ ขรุขระ นุ่ม เจ็บ ปวด ฯลฯ ดังนั้นส่วนของไขสันหลังบริเวณนี้จึงเป็นจุดส่งผ่านความรู้สึกทุกอย่างเสมือนหนึ่งเป็นประตูผ่านให้กระแสประสาทนำสู่สมองนั่นเองและเมลแซคได้ย้ำว่า กลไกความเจ็บปวดนั้นขึ้นกับระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก



     ดังนั้นเองจึงมีการนวด การกด การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นที่เส้นประสาท นำมาใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บปวด โดยสมมุติฐานที่ว่า หากลดการนำส่งกระแสประสาทความรู้สึกเข้าสู่ไขสันหลังย่อมช่วยลดความเจ็บปวดได้

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://painmanagementcollaboratory.org/pain-management-history-timeline/ 
https://www.britannica.com/science/pain
https://omegapaindoctor.com/blog/history-of-pain-management/ 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ปวดหลัง นักกีฬาระดับโลก
ย้อนกลับไปชมเหตุการณ์ที่ ไทเกอร์ วูดส์ ราฟาเอล นาดาล และเนยมาร์ เกิดเหตุปวดหลังระหว่างแข่งขัน ภาพวันนั้นเป็นอย่างไร เขาผ่านมาได้อย่างไร และเขามีการรักษาอย่างไร
25 ก.พ. 2025
หมอเก่าเล่าเรื่อง หมอ pain doctor
เมื่อการรักษาความเจ็บปวดพัฒนาขึ้น จึงมีหน่วยงาน การบัญญัติหลักการต่างๆขึ้นมา สถาบัน หลักปฎิบัติ คู่มือการดูแล
30 ม.ค. 2025
หมอเก่าเล่าเรื่อง หมอ pain doctor
หมอเก่าเล่าเรื่องตอน 2 เมื่อวิทยาศาสตร์อธิบายความเจ็บปวดได้ การรักษาก็ก้าวหน้าด้วยการคิดค้น สารเคมีต่างๆ แต่มันก็มีความเสี่ยงตามมา
30 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy