แชร์

ปวดเหมือนไฟซ็อต! คนที่เคยเป็นงูสวัดเท่านั้นจะเข้าใจ

อัพเดทล่าสุด: 27 มี.ค. 2025

ปวดจากงูสวัด (Postherpetic Neuralgia : PHN) 

การรักษา


1. อาการปวดจากงูสวัดคืออะไร?
       งูสวัด (Herpes Zoster) เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella-Zoster Virus (VZV) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดอีสุกอีใส หลังจากหายจากอีสุกอีใส เชื้อไวรัสนี้สามารถแฝงตัวอยู่ในปมประสาท (Dorsal Root Ganglion - DRG) และถูกกระตุ้นให้กลับมาแสดงอาการอีกครั้งเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ

       หลังจากผื่นและตุ่มน้ำหายไป ผู้ป่วยบางรายยังคงมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทที่ไวรัสเคยทำลาย ซึ่งเรียกว่า Postherpetic Neuralgia (PHN) อาการนี้มักมีลักษณะ ปวดแสบร้อน ปวดจี๊ดๆ หรือปวดลึกๆ บริเวณที่มีผื่นงูสวัดมาก่อน และอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือนถึงหลายปี

2. การให้ยาต้านไวรัส (Antiviral Therapy) เพื่อลดอาการปวดจากงูสวัด การให้ยาต้านไวรัส (Acyclovir, Valacyclovir, Famciclovir) ตั้งแต่ ระยะแรกของโรค ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีผื่น ช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดระยะเวลาการเกิดตุ่มน้ำ และลดความเสี่ยงในการเกิด PHN ได้อย่างมีนัยสำคัญ

   การป้องกันการเป็นซ้ำ การฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัด ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดงูสวัดและ PHN ได้

3. แนวทางการรักษาอาการปวดจากงูสวัด (PHN)

    (1) การรักษาด้วยยา
       - ยากลุ่มกันชัก (Anticonvulsants): Gabapentin, Pregabalin ลดสัญญาณปวดที่ส่ง           ผ่านเส้นประสาท
       - ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants): Amitriptyline, Duloxetine มีฤทธิ์ลดอาการ             ปวดปลายประสาท
       - ยาทาเฉพาะที่ (Topical Medications): เช่น Lidocaine Patch, Capsaicin Cream
       - ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioids): ใช้ในกรณีที่อาการปวดรุนแรงและยาอื่นๆ ไม่ได้ผล

    (2) การรักษาด้วย Pain Intervention ในกรณีที่ยาไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้
       - Nerve Blocks & Steroid Injections: การฉีดยาเพื่อลดอาการปวด                          - Intercostal Nerve Block: ฉีดยาชาและสเตียรอยด์บริเวณเส้นประสาทที่ได้รับ                   ผลกระทบ
       - Epidural Steroid Injection (ESI): ฉีดสเตียรอยด์เข้าสู่โพรงประสาทเพื่อลดอักเสบ
       - Sympathetic Nerve Block: ใช้ในกรณีที่มีอาการปวดจากระบบประสาทอัตโนมัติ
       - Pulsed Radiofrequency (PRF) และ High-Voltage PRF (HV-PRF) เพื่อลดอาการ           ปวดจากงูสวัด PRF และ HV-PRF เป็นเทคนิคที่ ใช้พลังงานคลื่นความถี่วิทยุแบบพัลส์           เพื่อกระตุ้นเส้นประสาท โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อ ช่วยลดอาการปวดได้นาน 3-6 เดือน               หรือมากกว่า

4. ภาวะแทรกซ้อนจาก PHN และผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต  
      - อาการปวดที่รุนแรง ส่งผลต่อการนอนหลับและกิจวัตรประจำวัน
      - ซึมเศร้าและความเครียด จากอาการปวดเรื้อรัง
      - ภาวะผิวหนังไวต่อความรู้สึก (Allodynia) ทำให้เจ็บปวดแม้ถูกสัมผัสเบาๆ

ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม


บทความที่เกี่ยวข้อง
ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
ความหวังใหม่ของผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังจาก หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่าตัดซ้ำ ทางเลือกใหม่ช่วยขจัดพังผืด ลดปวดได้ตรงจุด
18 เม.ย. 2025
ผู้หญิงสาววัยกลางคนมีอาการปวดหัวเรื้อรัง
ปวดหัวเรื้อรังและไมเกรน รักษาด้วยหัตถการ เช่น การบล็อกเส้นประสาท และการจี้ด้วยคลื่นวิทยุ ช่วยบรรเทาอาการปวดอย่างตรงจุดและลดการใช้ยาในระยะยาว
19 เม.ย. 2025
ผู้หญิงกำลังนั่งอยู่ที่โซฟามีอาการปวดท้องน้อย
ปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเกิดจากโรคทางนรีเวช ระบบทางเดินปัสสาวะ หรือระบบประสาท รู้จักสาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษาที่เหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
18 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy